logotype
  • HOME
  • ABOUT US
    • Company
    • Coach
  • SERVICE
    • Coaching
    • Video Production
    • Website Creation
    • Advertising
    • Meeting Room
  • GALLERY
  • BLOG
  • CONTACT
logotype
  • HOME
  • ABOUT US
    • Company
    • Coach
  • SERVICE
    • Coaching
    • Video Production
    • Website Creation
    • Advertising
    • Meeting Room
  • GALLERY
  • BLOG
  • CONTACT
  • HOME
  • ABOUT US
    • Company
    • Coach
  • SERVICE
    • Coaching
    • Video Production
    • Website Creation
    • Advertising
    • Meeting Room
  • GALLERY
  • BLOG
  • CONTACT
logotype

DIGITORY Space

  • HOME
  • ABOUT US
    • Company
    • Coach
  • SERVICE
    • Coaching
    • Video Production
    • Website Creation
    • Advertising
    • Meeting Room
  • GALLERY
  • BLOG
  • CONTACT
30 ส.ค.
ProductiveBy Aiyaphat Wankawisant0 Comments

Scrum คืออะไร ช่วยในการทำงานได้อย่างไร 

สารบัญเนื้อหา

  • Scrum คืออะไร
  • กระบวนการทำงานของ Scrum Framework
  • ตำแหน่งและหน้าที่ในการทำ Scrum
  • การประชุมในกระบวนการ Scrum
  • ข้อดีของการทำ Scrum Event
  • สรุป

Scrum คืออะไร

Scrum (สกรัม) คือ รูปแบบการทำงานหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนางานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง เพื่อทำการปรับแก้ไขผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้น เจ้าตัว Scrum จะช่วยในการย่อยโปรเจคที่มีขนาดมหึมา หรืองานที่ซับซ้อนให้เห็นความคืบหน้าของเนื้องานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น Scrum มาพร้อมกับการบริหารเวลาต่อโปรเจคงาน เพื่อให้งานนั้น ๆ ทันเวลาต่อสถานการณ์ต่าง ๆ นั่นเอง

Scrum ถูกคิดค้นขึ้นมาจากแนวคิด Empiricism และ Lean Thinking ที่เน้นการลงมือทำ ทำงานให้กระชับแบบ Lean ที่สุด เพื่อให้งานได้ดำเนินไปอย่างเข้าใจง่าย ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

“กระบวนการทํางานและความรู้อื่น ๆ ที่สามารถนํามาปรับใช้กับการทํางานแบบ Scrum มีอยู่ในแหล่งความรู้อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแต่ละรูปแบบกระบวนการทํางานและความรู้เหล่านั้นมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป”

– Jeff Sutherland และ Ken Schwaber ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดแบบ Scrum –

กระบวนการทำงานของ Scrum Framework 

Scrum Framework
รูปภาพจาก : scrum.org

Scrum Framework เป็น กระบวนการทำงานของ Scrum จำเป็นต้องมี Scrum Master (ผู้สนับสนุนหรือช่วยเหลือให้การทำ Scrum ให้มีการทำงานให้ราบรื่น) เข้ามาช่วยควบคุมการทำงาน โดยขั้นตอนการทำงานในรูปแบบ Scrum อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ดังนี้

1. Product Owner หรือผู้เรียงลำดับความสำคัญของงาน จะเรียงลำดับความสำคัญของงานใส่ไว้ที่ Product Backlog หลังจากนั้นจะมีการกำหนดเป้าหมาย เวลาการเริ่มต้น เวลาจบงานไว้ที่ Sprint Planning จากนั้นจะนำแพลนงานที่วางไว้ไปใส่ไว้ที่ Sprint Backlog เพื่อให้ทีมงาน Scrum ทำงานตามตำแหน่งงานของตน

2. Developers ทีมงานผู้สร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์จะพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตาม Sprint Backlog (รอบงานที่กำหนด)

3. สมาชิกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในส่วนอื่น ๆ ของการพัฒนาโปรเจค จะทำการตรวจสอบผลลัพธ์ผ่านกระบวนการ Sprint Review และ Sprint Retrospective เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขในรอบงานถัดไป

4. ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 1 – 3 วนไปเรื่อย ๆ

ตำแหน่งและหน้าที่ในการทำ Scrum 

1. Product Owner คือ คนที่เข้าใจลูกค้า ผู้ที่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากที่สุด และนำปัญหานั้นมาบอกต่อหรือแจ้งให้กับทางทีมทราบเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อไป

2. Scrum Master เสมือน Coaching ในกระบวนการ Scrum ทำหน้าที่ดูแล Scrum Framework ดูแลความคืบหน้าและบริหารโปรเจคงาน

3. Developers คือ คนที่ทํางานหรือผลิตชิ้นงานในกระบวน Scrum โดยทีม Developers ก็สามารถแบ่งแยกย่อยไปตามชิ้นงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายได้อีกด้วย

เครื่องมือที่ใช้ในการทำ Scrum 

1. Product Backlog คือ เครื่องมือที่ใช้บอกถึงความต้องการของลูกค้า หรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาปรับปรุง โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของงานไว้ที่ Product Backlog

2. Sprint Backlog คือ หัวข้อของงานต่าง ๆ ใน Product Backlog ที่ Product Owner และ Scrum Master  กำหนดเป้าหมาย วางแผนงาน และระยะเวลาการทำงานเอาไว้ และส่งต่อให้ Developers พัฒนางานให้บรรลุเป้าหมาย จนถึงส่งมอบให้แก่ผู้ใช้งานได้ทดลองใช้งานใน Sprint นั้น ๆ

การประชุมในกระบวนการ Scrum 

ในกระบวนการ Scrum Event จะมีรอบการประชุม เพื่อช่วยในการตรวจสอบการทำงานในแต่ละครั้ง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงในกระบวนการทำงาน โดยแบ่งการประชุมใน Scrum ได้ดังนี้

Scrum Meeting

1. Sprint Planning Meeting การประชุมทีมวางแผนการทำงาน พร้อมกับจัดลำดับความสำคัญของแต่ละ Sprint โดยการประชุมครั้งนี้จะมีการสร้าง Sprint Backlog เพื่อแตกย่อยงานเป็น Sprint 1, Sprint 2, Sprint 3 ตามลำดับ โดยจะเริ่มทำงานตั้งแต่ Sprint 1 พร้อมกับการมอบหมายงานให้ทีมที่รับผิดชอบใน Sprint นั้น ๆ

2. Daily Scrum Meeting เป็นการประชุมแบบไม่เป็นทางการ เหมือนการถามสารทุกข์สุกดิบ ประมาณ 10-15 นาที ในทุก ๆ วันก่อนเริ่มงาน เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดความคืบหน้าของงาน รวมถึงแพลนงานที่จะทำวันนี้ หรืองานที่ทำไปแล้วว่ามีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร ต้องการความช่วยเหลือจากใครหรือไม่

3. Sprint Review เป็นการประชุมทีมเพื่อพูดคุยความคืบหน้าของงานว่าต้องพัฒนาหรือต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง

4. Sprint Retrospective การสาธิตโปรเจคงานโดยจะเริ่มจาก Sprint 1 คือให้ลูกค้าหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทดลองใช้ หรือดูภาพรวมของงานว่าที่เราทำไปถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่ หาก Sprint 1 ตรงตามความต้องการของลูกค้า เราก็จะปิดงาน Sprint 1 และเริ่มทำงานที่ Sprint 2 ต่อไป แต่ถ้ายังไม่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้า จะต้องแก้ไข และวนกลับไปที่ Sprint 1 อีกครั้ง ซึ่งกระบวนการของ Scrum ก็จะวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ

ข้อดีของการทำ Scrum Event 

ข้อดีของการทำ Scrum Event 

นอกจากการทำงานร่วมกันจะเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของ Scrum แล้ว ยังช่วยให้กระบวนการทำงานมีความโปร่งใส ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งงานใดของกระบวนการ Scrum ก็สามารถเห็นความคืบหน้าในงานนั้นได้

Inspection – การตรวจสอบได้ 

การตรวจสอบกระบวนการทำงานในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการจับผิดการทำงานแต่อย่างใด แต่การตรวจสอบในกระบวนการ Scrum คือการตรวจสอบแก้ไข ปรับปรุง เพื่อลดข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน เพื่อให้ผลลัพธ์ในงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยกระบวนการ Scrum จะตรวจสอบผ่านทาง Scrum Event (Sprint Planning, Daily Scrum, Sprint Review, Sprint Retrospective) นั่นเอง

Adaptation – ปรับเปลี่ยนได้ 

เมื่อกระบวนการทำงานเกิดข้อผิดพลาด ไม่ว่าจาก Device หรือ Human Error  เเล้วทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามคาด กระบวนการทำงานจะเข้าสู่การปรับเปลี่ยนแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสียหายที่้อาจจะเกิดขึ้น ทำให้ภาพรวมของงานสามารถดำเนินต่อไปได้ ถือเป็นข้อโดดเด่นของกระบวนการ Scrum ที่ต้องมีความรวดเร็วและ Lean ให้มากที่สุด

กระบวนการทำงานในรูปแบบ Scrum ทุกตำแหน่งที่อยู่ในกระบวนการหรือโปรเจคนั้น ๆ ต้องสามารถเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด ว่าใครทำหน้าที่อะไร กำลังจะทำอะไรต่อไป งานใดที่เสร็จแล้ว งานใดที่กำลังทำอยู่ หรืองานใดที่จะทำต่อไป ส่วนนี้จะทำให้เกิดภาพรวมการทำงานที่ชัดเจน และเป็นข้อดีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้เป็นอย่างยิ่ง

ทำให้ Scrum เหมาะกับบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น บริษัทเทคโนโลยี  บริษัทสตาร์ทอัพที่ชอบความคล่องตัว รวดเร็ว และชัดเจน

สรุป

Scrum เป็น รูปแบบการทำงานหนึ่งที่ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว เข้าใจง่าย จากงานก้อนใหญ่แตกออกไปเป็นงานก้อนเล็ก ที่ทำให้ทุกคนสามารถมองเห็นงานแต่ละชิ้นและภาพรวมได้อย่างชัดเจน ทุกวันนี้มีบริษัทและองค์กรชั้นนำมีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก ผลตอบรับที่พบก็คือการทำงานกระชับขึ้น ทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

แต่เราก็ต้องขอบอกก่อนว่าบางบริษัทเหมาะกับการใช้ Scrum เข้ามาช่วยในการทำงาน แต่บางบริษัทก็ไม่เหมาะกับกับการใช้ Scrum ขึ้นอยู่กับรูปแบบงานของแต่ละองค์กรและบริษัทเองด้วย แต่หากบริษัทของคุณมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง มีงานที่ต้องใช้ความรวดเร็ว การนำ Scrum เข้ามาใช้งานในองค์กรถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว


อ้างอิงข้อมูล : https://www.scrum.org/resources/what-is-scrum

สอนอย่างไรให้สนุก เรียนกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ

สอนอย่างไรให้สนุก เรียนกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ

18 สิงหาคม 2022

ทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และสร้าง Productivity ได้ในทุกวัน

9 กันยายน 2022
ทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และสร้าง Productivity ได้ในทุกวัน

บทความที่น่าสนใจ

30 ส.ค.
ProductiveBy Aiyaphat Wankawisant0 Comments

Scrum คืออะไร ช่วยในการทำงานได้อย่างไร 

READ MORE
02 มิ.ย.
ProductiveBy Content DIGITORY Space0 Comments

Resilience ล้ม ลุก เดินหน้าต่อ สำคัญต่อการทำงานอย่างไร

READ MORE
Featured image: Scrum คืออะไร ช่วยในการทำงานได้อย่างไร 

DIGITORY Space
บริการให้เช่าห้องประชุมติด BTS พญาไท เริ่มต้นเพียง
400 บาท/ชั่วโมง

คลิกดูรายละเอียด
บทความที่เกี่ยวข้อง
  • Self-awareness คืออะไร ทำไมการตระหนักรู้ต่อตนเองถึงสำคัญ
    Self-awareness คืออะไร ทำไมการตระหนักรู้ต่อตนเองถึงสำคัญ
    8 สิงหาคม 2023
  • Resilience ล้ม ลุก เดินหน้าต่อ สำคัญต่อการทำงานอย่างไร
    Resilience ล้ม ลุก เดินหน้าต่อ สำคัญต่อการทำงานอย่างไร
    2 มิถุนายน 2023
  • แนะนำส่วนขยาย บน Chrome ที่สำคัญ และขาดไม่ได้สำหรับคนทำงาน
    แนะนำส่วนขยาย บน Chrome ที่สำคัญ และขาดไม่ได้สำหรับคนทำงาน
    29 มีนาคม 2023
Categories
  • Coaching3
  • Learning6
  • Lifestyle4
  • Productive6
  • Promotion1

DIGITORY Space พื้นที่แห่งการพัฒนาทักษะ Coaching อย่างมืออาชีพ

Service

Coaching Video ProductionWebsite Creation Advertising Meeting Room

Latest news

  • แนะนำฟอนต์ไทยจาก Google Fonts ฟรี ถูกลิขสิทธิ์ และอ่านง่าย
    แนะนำฟอนต์ไทยจาก Google Fonts ฟรี ถูกลิขสิทธิ์ และอ่านง่าย
    9 ตุลาคม 2023
  • Thumbnail คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อผู้ชมบน YouTube
    Thumbnail คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อผู้ชมบน YouTube
    6 ตุลาคม 2023

Contacts

ยูนิต 1201-3 ชั้น 12 อาคารสิริภิญโญ เลขที่ 475 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400

education@digitorystyle.com

088-994-9496

Privacy Policy

Copyright © 2022 DIGITORY Space. All Rights Reserved.

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies) Always active
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าชมเว็บไซต์และใช้งานได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้ประเภทนี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
Preferences
The technical storage or access is necessary for the legitimate purpose of storing preferences that are not requested by the subscriber or user.
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ The technical storage or access that is used exclusively for anonymous statistical purposes. Without a subpoena, voluntary compliance on the part of your Internet Service Provider, or additional records from a third party, information stored or retrieved for this purpose alone cannot usually be used to identify you.
คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Advertising Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งานเว็บไซต์ เพื่อนำเสนอขายสินค้าที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถแสดงผลโฆษณาได้ตรงตามความต้องการของคุณ
Manage options Manage services Manage {vendor_count} vendors Read more about these purposes
ตั้งค่า
{title} {title} {title}