สร้างคอร์สออนไลน์ สร้างรายได้ ทำเป็นอาชีพ
ทุกวันนี้ความรู้ต่าง ๆ สามารถค้นหาได้ด้วยปลายนิ้วของเรา เพราะมีอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ทุกคนเชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น จึงทำให้การเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องมีการเดินทางเข้ามาเกี่ยวข้อง และทำให้ธุรกิจการศึกษาอย่าง คอร์สออนไลน์ มีบทบาทมากยิ่งขึ้น
ในบทความนี้ DIGITORY Space ได้รวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ตรง ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการทำคอร์สออนไลน์เพื่อสอน และต่อยอดเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ จากทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ของตัวคุณเอง จะมีวิธีการอย่างไร ติดตามกันได้ที่บทความนี้เลย
ขั้นตอนการสร้างคอร์สออนไลน์ จากประสบการณ์ตรงของ DIGITORY Space
1. วิเคราะห์สกิลและความเชี่ยวชาญของตัวเอง
ต้องบอกเลยว่าคอร์สเรียนในปัจจุบัน แตกความรู้ออกไปหลากหลายสาขาตามความเชี่ยวชาญ และทุกวันนี้มีการสอนที่ล้วนมาจากประสบการณ์ตรง เช่น Coaching, Storytelling, Excel, Data Analyst หรือแม้แต่การเงินการลงทุนเองก็ตาม ซึ่งเป็นความรู้ที่มาจากความสามารถ การทดลอง หรือจากการทำงานของผู้สอนโดยตรง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคนที่ต้องการแบ่งปันทักษะความรู้ในรูปแบบของ คอร์สเรียนออนไลน์ เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ให้กับผู้อื่น
ในเรื่องสกิลความเชี่ยวชาญ DIGITORY Space แนะนำให้เสริมความมั่นใจให้ผู้เรียนเห็นความเชี่ยวชาญของผู้สอน ด้วยการโชว์ความรู้ความสามารถของคุณผ่านใบ Certificate ต่าง ๆ หรือใส่ประสบการณ์สอนที่ผ่านมาบนเว็บไซต์ จะช่วยให้คอร์สเรียนออนไลน์หรือสื่อการสอนของคุณมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
2. กำหนดเป้าหมายในการสอนให้ชัดเจน
การกำหนดเป้าหมาย จะทำให้เราวางกรอบการสอนของเราได้ชัดเจนขึ้น เราขอแบ่งเป็นหัวข้อง่าย ๆ เพื่อให้เห็นภาพ ดังนี้
- กลุ่มเป้าหมายในการสอนของเราคือใคร
- ความเข้มข้นของเนื้อหาอยู่ในระดับไหน Basic, Intermediate หรือ Advance (เพื่อเจาะลึกรายละเอียด และแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้)
- ใครควรเรียนคอร์สออนไลน์นี้ หรือผู้เรียนต้องมีความรู้ระดับไหนถึงจะเรียนคอร์สออนไลน์นี้ได้
- ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับหลังเรียนจบ เช่น ผู้เรียนจะเข้าใจหัวข้อนี้มากขึ้นมากน้อยแค่ไหน หรือผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริงหลังจากเรียนคอร์สนี้หรือไม่
รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียน เลือกคอร์สเรียนออนไลน์ได้ตรงกับความต้องการ และยังทำให้ออกแบบเนื้อหาการสอนได้ง่ายขึ้นด้วย
3. เนื้อหาที่สอนในคอร์สเรียนมีอะไรบ้าง
หัวใจสำคัญสำหรับการทำคอร์เรียนออนไลน์คือ เนื้อหาในบทเรียน ซึ่งเนื้อหาจะต้องสอดคล้องกับแผนการสอน และแยกกลุ่มผู้เรียนได้ชัดเจน เช่น เนื้อหาคอร์สเรียนความรู้ระดับ พื้นฐาน ปานกลาง หรือสูง เพื่อให้ความรู้กับผู้เรียนตามความต้องการมากที่สุด
ที่สำคัญ ต้องมีการแยกระดับคอร์สเรียน เพื่อไม่ให้เนื้อหาอัดแน่นหรือลึกจนเกินไป เพราะพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนยังไม่พร้อม จึงอาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนหรือเรียนไม่รู้เรื่องได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิชาที่สอนด้วย
จากรูปภาพข้างต้นเป็นวิชา TikTok Ads ระดับพื้นฐาน จะเห็นได้ว่าเนื้อหาคอร์สเรียนจะเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ TikTok Ads และมีการแบ่งย่อยบทเรียนออกเป็นบทหลัก และบทย่อย ๆ อีก เพื่อเจาะลึกรายละเอียดในแต่ละหัวข้อให้ชัดเจนขึ้น
ข้อดีของการจัดบทเรียนแบบนี้คือ ผู้เรียนจะสามารถเรียนให้หัวข้อที่สนใจได้ทันที หรือต้องการเรียนซ้ำในหัวข้อที่ต้องการก็สามารถทำได้เช่นกัน
4. ทำสื่อการสอนหรือสไลด์ประกอบการสอน
สไลด์การสอนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนเห็นภาพในการเรียนได้ชัดเจน หลายคนใช้ Powerpoint หรือใช้ Google Slides เป็นสื่อการสอน ตรงนี้สามารถใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ที่ตัวเองถนัดในการใช้สอน เพราะเป้าหมายหลัก ๆ ของสื่อการสอนคือ การทำให้ผู้เรียนเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด
แนะนำว่าไม่ต้องใส่เนื้อหาที่เยอะเต็มหน้า เน้นใช้เทคนิคให้ภาพเล่าเรื่อง เพื่ออธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาผ่านวิธีการพูดของผู้สอนแทน
5. ทำวิดีโอคอร์สเรียนให้น่าสนใจ
ลองคลิกชมวิดีโอด้านบน จะเห็นว่าเป็นเนื้อหาวิดีโอ มีความประชับ เพราะเน้นที่ความเข้าใจง่าย สามารถรับชมได้ทุกเพศทุกวัย และเน้นใส่เนื้อหาสำคัญที่ทำให้วิดีโอสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยส่วนประกอบที่สำคัญของวิดีโอตัวอย่างด้านบน คือ
- เนื้อหาวิดีโอ
- Subtitle
- เสียงประกอบ
- เอฟเฟคประกอบ
ในการทำคอร์สออนไลน์ วิดีโอเป็นสิ่งสำคัญ แต่หลายคนไม่ได้ลงรายละเอียดกับการตัดต่อวิดีโอมากเท่าไหร่นัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว วิดีโอเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน คอร์สเรียนออนไลน์ คอร์สนั้น ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเทคนิคการตัดต่อวิดีโอด้วยส่วนหนึ่ง เพราะการตัดต่อวิดีโอเป็นเหมือนวิธีการเล่าเรื่อง ส่วนคนตัดต่อวิดีโอเป็นเหมือน Storyteller นอกจากจะต้องตัดต่อเก่ง ต้องมีประสบการณ์แล้ว ยังต้องเล่าเรื่องผ่านวิดีโอเก่งอีกด้วย
6. อัปโหลดวิดีโอคอร์สเรียนบนเว็บไซต์
Learndash
สำหรับคนที่ต้องการสร้างคอร์สออนไลน์บนเว็บไซต์ และถ้าเว็บไซต์ของคุณใช้ WordPress ในการสร้าง แนะนำให้ใช้ LMS Plugin ชื่อดังอย่าง Learndash เลย เจ้าตัวปลั๊กอินนี้จะช่วยจัดการระบบการเรียนการสอนบนโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงคอร์สออนไลน์ของคุณได้สะดวกขึ้น
จากรูปตัวอย่างด้านบน จะเห็นได้ว่าเราสามารถออกแบบคอร์สออนไลน์ของเราเป็นบทเรียนหลัก และบทเรียนย่อยได้ และหากอยากจะสร้างแบบทดสอบให้กับผู้เรียนตัว Learndash ก็สามารถทำได้เช่นกัน
เจ้าตัว Learndash สามารถเก็บข้อมูลของผู้เรียน และข้อมูลการล็อกอินเข้าสู่เนื้อหาคอร์สเรียนได้ นอกจาก ผู้สอนจะรู้ว่าผู้เรียนเข้าเรียนบทไหนบ้างแล้ว ยังช่วยให้นักการตลาดเก็บข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปพัฒนาคอร์สเรียนให้ดียิ่งขึ้นด้วย
สำหรับใครอยากรู้จักหรืออยากติดตั้งปลั๊กอิน Learndash แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร มาปรึกษากับทางทีม DIGITORY Space ได้เลยนะคะ LINE OA : @DIGITORYSPACE
YouTube
YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับคนทำคอร์สออนไลน์แบบไม่มีเว็บไซต์ โดยคุณสามารถอัปโหลดวิดีโอคอร์สเรียนผ่าน YouTube (โดยในตอนนี้ YouTube ยังไม่มีบริการล็อกอินเข้าสู่เนื้อหาคอร์สเรียนได้ เหมือนกับ Learndash) ผู้ใช้งาน YouTube ทุกคนสามารถเข้าถึงคอร์สเรียนของคุณได้ง่ายมาก ๆ ไม่ว่าจะจัดบทเรียนเป็น Playlist เพื่อแยกเป็นบทเรียนก็สามารถทำได้
7. วางแผนทางการตลาด
การโปรโมตคอร์สเรียนออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้าง Brand Awareness ให้แข็งแกร่งมากขึ้น หลัก ๆ สามารถแยกออกเป็น 2 ช่องทางคือ
1. Social Media
เน้นเนื้อหาที่กระชับ ช่วยสร้างการรับรู้ได้รวดเร็ว โดยคุณสามารถโปรโมตคอร์สเรียนผ่านในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter, IG หรือ TikTok โดยในแต่ละแพลตฟอร์มจะมีคาแร็กเตอร์ของผู้ใช้งานแตกต่างกันไป รวมถึงคอนเทนต์ในแต่ละแพลตฟอร์มก็แตกต่างกันไปด้วย
ดังนั้นก่อนที่จะทำการตลาดผ่าน Social Media เราจึงต้องรู้จักต้องทราบ Target Group ของคอร์สเรียนเราก่อน เพื่อจะได้เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง และไม่ให้เงินที่นำมาทำการตลาดสูญเปล่านั่นเอง
2. Website และ Search Engine
การทำตลาดผ่านเว็บไซต์และเสิร์ชเอนจิ้น จะมีเนื้อหาข้อมูลที่ยาวกว่าและจริงจังกว่าเนื้อหาบน Social Media การมีเว็บไซต์จึงเป็นการช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับการเรียนการสอนของคุณได้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้สอน ยิ่งเราสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์บนเว็บไซต์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสการตัดสินใจซื้อบริการของเรามากขึ้นเท่านั้น
สรุป
การทำคอร์สออนไลน์ เพื่อทำสื่อการเรียนการสอนบนโลกอินเทอร์เน็ตมีด้วยกัน 7 ข้อดังนี้
- วิเคราะห์สกิลและความเชี่ยวชาญของตัวเอง
- กำหนดเป้าหมายในการสอนให้ชัดเจน
- เนื้อหาที่สอนในคอร์สเรียนมีอะไรบ้าง
- ทำสื่อการสอนหรือสไลด์ประกอบการสอน
- ทำวิดีโอคอร์สเรียนให้น่าสนใจ
- อัปโหลดวิดีโอคอร์สเรียนบนเว็บไซต์
- วางแผนทางการตลาด
โดยทุกข้อคุณสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับคอร์สเรียนของคุณได้ เพื่อให้เข้ากับผู้เรียนและกลุ่มเป้าหมายของคุณได้อย่างตรงจุดมากขึ้น นอกจากนี้สำหรับใครที่มีไอเดีย หรือมีเนื้อหาการสอนอยู่แล้ว แต่ไม่มีทีมงานให้คำปรึกษา มาปรึกษากับ DIGITORY Space กันก่อนได้เลย เรามีบริการทำคอร์สออนไลน์ ช่วยโปรโมตคอร์สเรียนของคุณให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นบนโลกออนไลน์