แนะนำฟอนต์ไทยจาก Google Fonts ฟรี ถูกลิขสิทธิ์ และอ่านง่าย

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ทุกคน ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องฟอนต์กันบ้าง โดยฟอนต์ที่เราจะแนะนำในที่นี่ก็เป็นฟอนต์ที่ได้รับความนิยมสำหรับใช้งานบนเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ซึ่งฟอนต์ที่เรามาแนะนำนี้จะเป็นฟอนต์ภาษาไทยจาก Google Fonts ที่ใช้สามารถได้ฟรีและถูกลิขสิทธิ์

บนเว็บไซต์ Google Fonts มีฟอนต์ไทยให้เลือกใช้งานมากมาย แต่ละฟอนต์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันไป สำหรับการเลือกใช้ฟอนต์ภาษาไทยไปใช้งานบนเว็บไซต์ แนะนำให้พิจารณา ดังต่อไปนี้

เทคนิคการเลือกฟอนต์สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์

Mood & Tone ของเว็บไซต์ หากเป็นเว็บไซต์องค์กรที่ต้องการสื่อสารความน่าเชื่อถือ อาจเลือกใช้ฟอนต์ที่เรียบง่าย ลูกเล่นไม่เยอะจนเกินไป และอ่านง่าย หรือหากเป็นเว็บไซต์สำหรับเด็กอาจเลือกใช้ฟอนต์ที่มีลูกเล่นเล็กน้อย เพื่อให้ความรู้สึกสนุกสนานนั่นเอง

สอดคล้องกับ Persona  (ตัวอย่างกลุ่มลูกค้า) การเลือกใช้ฟอนต์เพื่อใช้งานบนเว็บไซต์บางครั้งอาจต้องพิจารณาตาม Persona ของธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มวัยรุ่นที่สามารถอ่านฟอนต์แบบไม่มีหัวได้ปกติและคุ้นชิน แต่สำหรับผู้สูงอายุการอ่านฟอนต์ไม่มีหัวอาจต้องใช้การเพ่งมองมากกว่าปกติ ทำให้ในการใช้งานฟอนต์แบบไม่มีหัวอาจไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ เป็นต้น

เราลองมาดูโดยฟอนต์ภาษาไทยบน Google Fonts กันบ้างว่ามีฟอนต์ไหนที่น่าสนใจและเป็นที่นิยม

ฟอนต์ภาษาไทยบน Google Fonts

ฟอนต์ภาษาไทยบน Google Fonts

ฟอนต์แบบไม่มีหัว

ตัวอย่างเช่น

  • Prompt
  • Mitr
  • Noto Sans Thai 
  • Kanit 

แบบฟอนต์ไม่มีหัวยอดฮิตที่หลายเว็บไซต์นิยมใช้ ซึ่ง DIGITORY Space ก็ใช้ฟอนต์ประเภทนี้สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์เช่นกัน เพราะมีความกึ่งทางการและก็ให้ความรู้สึกถึงความทันสมัยอีกด้วย

ฟอนต์แบบมีหัว

ตัวอย่างเช่น

  • Trirong 
  • Sarabun 
  • Chakra Petch 
  • Pridi

ฟอนต์สไตล์คลาสสิกเหมาะสำหรับการใช้งานในเอกสาร หนังสือ และบทความบนเว็บไซต์ ซึ่งจะให้ความรู้สึกอ่านง่าย สบายตา โดยเว็บไซต์ประเภทบทความ เว็บ Blog ที่ต้องเน้นให้ผู้ใช้งานอ่านเนื้อหา มักนิยมใช้ฟอนต์แบบมีหัวเพราะช่วยให้ไม่ต้องเพ่งมองตัวอักษรในการอ่านมากเกินไปนั่นเอง

แนะนำการเลือกใช้ฟอนต์ให้เข้ากับเว็บไซต์ 

โดยทั่วไปประเภทของฟอนต์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ Serif, Sans Serif และ Script

  • Serif เป็นฟอนต์ที่มีหัวขีดเล็กๆ อยู่ปลายอักษร เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการอ่านง่ายและต่อเนื่อง เช่น บทความ หนังสือ เอกสาร
  • Sans Serif เป็นฟอนต์ที่ไม่มีหัวขีดเล็กๆ อยู่ปลายอักษร เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการดูทันสมัยและน่าสนใจ เช่น เว็บไซต์ทั่วไป เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ โฆษณา กราฟิก
  • Script เป็นฟอนต์ที่มีรูปแบบคล้ายลายมือ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการความหรูหราและคลาสสิก เช่น เว็บไซต์แฟชั่น เว็บไซต์นิตยาสาร หรือเว็บไซต์ด้าน Creativity

นอกจากนี้น้ำหนักของฟอนต์สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบหลักๆ คือ Thin, Light, Regular, Bold และ Extra Bold

  • Thin เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการให้ดูบางเบาและโปร่งสบาย
  • Light เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักเบากว่า Regular เล็กน้อย เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการให้ดูทันสมัยและน่าสนใจ
  • Regular เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักมาตรฐาน เหมาะสำหรับเนื้อหาทั่วไป
  • Bold เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักหนา เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการเน้นย้ำหรือสร้างความโดดเด่น
  • Extra Bold เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักหนาที่สุด เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการเน้นย้ำหรือสร้างความโดดเด่น เช่น หัวข้อ หรือ Headine เป็นต้น

ทั้งนี้การเลือกใช้ประเภทฟอนต์ รวมถึงขนาดของฟอนต์ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และจุดประสงค์ของเว็บไซต์ว่าผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ของเราเป็นใครนั่นเอง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นฟอนต์ประเภทหรือรูปแบบใด แนะนำว่าให้เลือกใช้ฟอนต์ที่ไม่มีลูกเล่นที่เยอะเกินไป เนื่องจากบนเว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ใช้งาน หากเลือกใช้ฟอนต์ที่มีลูกเล่นเยอะเกินไป อาจส่งผลให้ผู้ใช้งานปิดหน้าเว็บไซต์ของคุณไปก่อนก็ได้

Thumbnail คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อผู้ชมบน YouTube

รูปภาพหน้าปกจะช่วยดึงดูดคนให้เข้ามาดูคลิปวิดีโอของเราได้มากยิ่งขึ้น หากออกแบบมาให้สามารถดึงสายตา และสร้างความจดจำได้ ซึ่งอาจทำให้ Video Content ของเรามียอดวิวหรือผู้ติดตามที่มากขึ้นไปด้วย ในบทความนี้เราจะชวนผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ Thumbnail ให้มากขึ้น พร้อมกับเคล็ดลับการออกแบบอย่างไรให้หยุดทุกสายตาของผู้ชม

Thumbnail คืออะไร

Thumbnail คือรูปภาพหน้าปกของ Video Content มักถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความดึงดูดใจให้ผู้คนกดเข้าไปดูเนื้อหาวิดีโอ พร้อมกับช่วยให้ผู้ใช้งานทราบเนื้อหาได้ง่ายขึ้นว่าเนื้อหาด้านในนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร

ตัวอย่างเช่น

Thumbnail

ตัวอย่างภาพ Thumbnail จากช่อง The Secret Sauce

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบรูปภาพโดยเน้นโทนสีส้มและเหลือง (ตาม CI ของแบรนด์) พร้อมกับมีการใส่ Text ข้อความที่ชัดเจนอ่านง่าย และยังเน้นข้อความในส่วนของยอด View เพื่อชวนให้ผู้คนกดเข้าไปดูคลิปวิดีโอได้มากยิ่งขึ้น

Thumbnail Content Video

ตัวอย่างภาพ Thumbnail จากช่อง Go Online Thailand

อีกหนึ่งตัวอย่างจากช่อง Go Online Thailand ที่ออกแบบมาเน้นสีสันที่สื่อถึงความสดใสและสนุกสนาน โดยสำหรับช่องนี้มีทั้ง Content ที่สนุกสนานซึ่งออกแบบให้มีลูกเล่นน่ารัก ๆ และส่วนของ Content ที่เป็นทางการก็มีการปรับให้มีความน่าเชื่อถือ เน้นทางการ เป็นต้น

จากทั้งสองตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า Thumbnail ควรออกบบให้น่าสนใจ หรือออกแบบให้เข้ากับคอนเซปต์เนื้อหาของ Video Content ด้านในเพื่อให้ผู้คนตัดสินใจกดเข้าไปชมวิดีโอได้ง่ายขึ้น

โดยบ่อยครั้งที่เราพบว่าเนื้อหาภายในวิดีโอจะอัดแน่นไปด้วยคุณภาพ แต่การออกแบบ Thumbnail ไม่สามารถดึงดูดต่อผู้ใช้งานได้เท่าที่ควร จึงส่งผลให้ Video Content ไม่ได้รับผลตอบรับได้ดีเท่าที่ควรนั่นเอง

เคล็ดลับออกแบบ Thumbnail ให้ดึงดูดผู้ชม

1.ออกแบบให้ดึงดูดสายตา ในการออกแบบภาพปกควรออกแบบโดยอ้างอิงตาม CI (Corporate Identity) เพื่อสร้างการจดจำของผู้คน โดยอาจเน้นสีสันที่ทำให้ผู้คนสนใจรูปภาพ พร้อมกระตุ้นให้เกิดความสนใจเนื้อหาด้านในให้มากขึ้น

2.หลีกเลี่ยงองค์ประกอบที่รบกวนสายตา การออกแบบ Thumbnail ควรสร้างจุดโฟกัสให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย โดยเลี่ยงการใช้องค์ประกอบที่ไม่จำเป็น เช่น การใส่ภาพประกอบที่เยอะเกินไป หรือ Font ตัวอักษรหลายรูปแบบในภาพเดียว เป็นต้

3. ออกแบบ Thumbnail ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับแพลตฟอร์ม ยกตัวอย่าง Thumbnail สำหรับวิดีโอ YouTube ซึ่งมีขนาด ดังนี้

  • ขนาด 1280×720 พิกเซล
  • ขนาดไม่เกิน 2MB
  • อัตราส่วน 16:9
  • ไฟล์ที่รองรับ .JPG, .GIF, .BMP หรือ .PNG

นอกจากนี้ Thumbnail ยังช่วยในการสื่อสารถึงภาพลักษณ์ของช่องได้ด้วยว่าช่อง YouTube ช่องนี้มีเนื้อหาแบบใด เช่น เนื้อหาที่ตลกขบขัน สนุกสนาน จึงควรเน้นโทนสีที่สดใส หากมีเนื้อหาที่จริงจังก็อาจเน้นการออกแบบโดยใช้สีดำหรือสีโทนเข้ม เป็นต้น ทั้งนี้สำหรับการออกแบบ Thumbnail แนะนำให้คุม CI ให้มีความชัดเจน เพื่อให้ผู้คนจดจำรูปภาพหน้าปกบนช่อง YouTube ของคุณได้มากยิ่งขึ้น

 

ฟรีแลนซ์คืออะไร สบายจริงไหม ทำงานเมื่อไรก็ได้จริงหรือ

ฟรีแลนซ์ หรือ อาชีพรับจ้างอิสระดีไหม คือรูปแบบการทำงานที่ต้องจัดเวลาการทำงานด้วยตนเองทั้งหมด โดยจะมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง เรามาดูกัน

เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์รูปภาพก่อนนำไปใช้

ลิขสิทธิ์รูปภาพ หรือ Image Copyright คืออะไร รูปภาพแบบใดที่มีลิขสิทธิ์ พร้อมแนะนำเว็บไซต์ขายรูปภาพที่คนทำคอนเทนต์ต้องไม่พลาด

Coaching คืออะไร พร้อมทักษะการเป็นโค้ชที่มือใหม่ควรรู้

การโค้ช หรือ Coaching คือผู้นำทาง ผู้วางแผนให้ธุรกิจหรือกิจการของคุณให้เติบโตมากยิ่ง โดยใช้ทักษะจากประสบการณ์การทำงานที่ตนเองผ่านมา

Self-awareness คืออะไร ทำไมการตระหนักรู้ต่อตนเองถึงสำคัญ

Self-awareness หรือ “การตระหนักรู้ในตนเอง” คือ รู้จักตัวเองเพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองในทุกมิติชีวิต เพื่อจัดการอารมณ์และความคิดของตัวเองได้มากขึ้น

Resilience ล้ม ลุก เดินหน้าต่อ สำคัญต่อการทำงานอย่างไร

Resilience Mindset คือการล้ม แก้ไข และเรียนรู้ รู้จักกับการยืดหยุ่นกับตนเอง
เพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายที่วางไว้อีกครั้ง

Leadership Skill ผู้นำที่ดีต้องมีทักษะอย่างไร

Leadership Skill คืออะไร ผู้นำที่ดีควรเป็นแบบไหน รวม 10 ลักษณะการเป็นผู้นำ ที่ดีเพื่อพัฒนาตัวคุณเองให้ดีขึ้นกัน

E-Learning คืออะไร ระบบการสอนออนไลน์สำคัญอย่างไรในปัจจุบัน

ทำความรู้จักกับการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือการอบรมผ่านระบบ E-Learning ไปพร้อม ๆ กันว่า E-Learning คืออะไร และระบบ E Learning มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษาและธุรกิจ

แนะนำส่วนขยาย บน Chrome ที่สำคัญ และขาดไม่ได้สำหรับคนทำงาน

เจาะลึกเรื่องราวของ Google Chrome Extension ไปพร้อม ๆ กันว่า Google Chrome Extension คืออะไร พร้อมรู้จักกับ 7 ส่วนขยาย Chrome สุดเจ๋งที่วัยทำงานไม่ควรพลาด