แนะนำฟอนต์ไทยจาก Google Fonts ฟรี ถูกลิขสิทธิ์ และอ่านง่าย
สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ทุกคน ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องฟอนต์กันบ้าง โดยฟอนต์ที่เราจะแนะนำในที่นี่ก็เป็นฟอนต์ที่ได้รับความนิยมสำหรับใช้งานบนเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ซึ่งฟอนต์ที่เรามาแนะนำนี้จะเป็นฟอนต์ภาษาไทยจาก Google Fonts ที่ใช้สามารถได้ฟรีและถูกลิขสิทธิ์
บนเว็บไซต์ Google Fonts มีฟอนต์ไทยให้เลือกใช้งานมากมาย แต่ละฟอนต์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันไป สำหรับการเลือกใช้ฟอนต์ภาษาไทยไปใช้งานบนเว็บไซต์ แนะนำให้พิจารณา ดังต่อไปนี้
เทคนิคการเลือกฟอนต์สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์
Mood & Tone ของเว็บไซต์ หากเป็นเว็บไซต์องค์กรที่ต้องการสื่อสารความน่าเชื่อถือ อาจเลือกใช้ฟอนต์ที่เรียบง่าย ลูกเล่นไม่เยอะจนเกินไป และอ่านง่าย หรือหากเป็นเว็บไซต์สำหรับเด็กอาจเลือกใช้ฟอนต์ที่มีลูกเล่นเล็กน้อย เพื่อให้ความรู้สึกสนุกสนานนั่นเอง
สอดคล้องกับ Persona (ตัวอย่างกลุ่มลูกค้า) การเลือกใช้ฟอนต์เพื่อใช้งานบนเว็บไซต์บางครั้งอาจต้องพิจารณาตาม Persona ของธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มวัยรุ่นที่สามารถอ่านฟอนต์แบบไม่มีหัวได้ปกติและคุ้นชิน แต่สำหรับผู้สูงอายุการอ่านฟอนต์ไม่มีหัวอาจต้องใช้การเพ่งมองมากกว่าปกติ ทำให้ในการใช้งานฟอนต์แบบไม่มีหัวอาจไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ เป็นต้น
เราลองมาดูโดยฟอนต์ภาษาไทยบน Google Fonts กันบ้างว่ามีฟอนต์ไหนที่น่าสนใจและเป็นที่นิยม
ฟอนต์ภาษาไทยบน Google Fonts
ฟอนต์แบบไม่มีหัว
ตัวอย่างเช่น
- Prompt
- Mitr
- Noto Sans Thai
- Kanit
แบบฟอนต์ไม่มีหัวยอดฮิตที่หลายเว็บไซต์นิยมใช้ ซึ่ง DIGITORY Space ก็ใช้ฟอนต์ประเภทนี้สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์เช่นกัน เพราะมีความกึ่งทางการและก็ให้ความรู้สึกถึงความทันสมัยอีกด้วย
ฟอนต์แบบมีหัว
ตัวอย่างเช่น
- Trirong
- Sarabun
- Chakra Petch
- Pridi
ฟอนต์สไตล์คลาสสิกเหมาะสำหรับการใช้งานในเอกสาร หนังสือ และบทความบนเว็บไซต์ ซึ่งจะให้ความรู้สึกอ่านง่าย สบายตา โดยเว็บไซต์ประเภทบทความ เว็บ Blog ที่ต้องเน้นให้ผู้ใช้งานอ่านเนื้อหา มักนิยมใช้ฟอนต์แบบมีหัวเพราะช่วยให้ไม่ต้องเพ่งมองตัวอักษรในการอ่านมากเกินไปนั่นเอง
แนะนำการเลือกใช้ฟอนต์ให้เข้ากับเว็บไซต์
โดยทั่วไปประเภทของฟอนต์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ Serif, Sans Serif และ Script
- Serif เป็นฟอนต์ที่มีหัวขีดเล็กๆ อยู่ปลายอักษร เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการอ่านง่ายและต่อเนื่อง เช่น บทความ หนังสือ เอกสาร
- Sans Serif เป็นฟอนต์ที่ไม่มีหัวขีดเล็กๆ อยู่ปลายอักษร เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการดูทันสมัยและน่าสนใจ เช่น เว็บไซต์ทั่วไป เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ โฆษณา กราฟิก
- Script เป็นฟอนต์ที่มีรูปแบบคล้ายลายมือ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการความหรูหราและคลาสสิก เช่น เว็บไซต์แฟชั่น เว็บไซต์นิตยาสาร หรือเว็บไซต์ด้าน Creativity
นอกจากนี้น้ำหนักของฟอนต์สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบหลักๆ คือ Thin, Light, Regular, Bold และ Extra Bold
- Thin เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการให้ดูบางเบาและโปร่งสบาย
- Light เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักเบากว่า Regular เล็กน้อย เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการให้ดูทันสมัยและน่าสนใจ
- Regular เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักมาตรฐาน เหมาะสำหรับเนื้อหาทั่วไป
- Bold เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักหนา เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการเน้นย้ำหรือสร้างความโดดเด่น
- Extra Bold เป็นฟอนต์ที่มีน้ำหนักหนาที่สุด เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการเน้นย้ำหรือสร้างความโดดเด่น เช่น หัวข้อ หรือ Headine เป็นต้น
ทั้งนี้การเลือกใช้ประเภทฟอนต์ รวมถึงขนาดของฟอนต์ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และจุดประสงค์ของเว็บไซต์ว่าผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ของเราเป็นใครนั่นเอง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นฟอนต์ประเภทหรือรูปแบบใด แนะนำว่าให้เลือกใช้ฟอนต์ที่ไม่มีลูกเล่นที่เยอะเกินไป เนื่องจากบนเว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ใช้งาน หากเลือกใช้ฟอนต์ที่มีลูกเล่นเยอะเกินไป อาจส่งผลให้ผู้ใช้งานปิดหน้าเว็บไซต์ของคุณไปก่อนก็ได้